ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สีวังแลนด์
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สีวังแลนด์ จัดตั้งโดย นายทรงยศ สีวัง ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 46 หมู่ที่ 13 ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย ทั้งหมด 4 ไร่
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สีวังแลนด์ จัดตั้งโดย นายทรงยศ สีวัง ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 46 หมู่ที่ 13 ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย ทั้งหมด 4 ไร่
เมื่อประมาณ 150-200 ปี มาเเล้ว นายพรานเกิ้น นายพรานสีโท ได้ก่อตั้งบ้านปลาค้าวขึ้น ได้กำหนดพื้นที่ให้เป็นสถานที่ตั้งหอเจ้าปู่ อังกฮาดราชวงศ์ สำหรับการบูชาของพี่น้องในชุมชนทุกปี ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะมีการบวงสรวง เช่นไหว้ เลี้ยงสุรา ยาสูบ หัวหมู เป็ด ไก่ พี่น้องในชุมชนพากันไปกราบไหว้ขอพรจากปู่ตา โดยมีความเชื่อว่าในชุมชนนี้จะทำอะไรต้องบอกกล่าวปู่ตาให้ทราบซึ่งมีผู้เเทนสื่อสารกับท่านคือ พ่อใหญ่จ้ำ ผู้ที่ได้รับการสืบทอดเชื้อสายมา รุ่นต่อรุ่นถ้าพ่อใหญ่จ้ำเสียชีวิต ชุมชน จะเลือกพ่อใหญ่จ้ำคนใหญ่จ้ำคนใหม่แทนตามเชื้อสายตามความอาวุโสตามลำดับ
วัดภูจำปาแห่งนี้ เคยมีพระธุดงค์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เดินทางมาปักกรดพักอาศัย เพื่อปฏิบัติธรรมเป็นการชั่วคราวเพราะเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ซึ่งในเวลาต่อมามีพระสงฆ์นิยมมาจำพรรษาอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา จึงได้ร่วมใจกันสร้างวัด ก่อสร้างพระพุทธรูปไว้สักการะบูชา และได้สร้างพระไม้พระครั่ง สะสมไว้ในถ้ำเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันว่าได้มีคู่รักหนุ่มสาวมาบนบานอธิษฐานรัก ด้วยการปลูกต้นจำปาหรือต้นลีลาวดีในปัจจุบัน บนลานหิน หากจะได้ครองรักกันก็ขอให้ต้นจำปาเจริญงอกงามออกดอกบานสะพรั่ง ให้ได้ชื่นชม จนเป็นที่มาของภูจำปา
วัดเทพมงคล ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2500 เนื่องในโอกาสฉลองกึ่งพุทธกาล เดิมชื่อวัดเทพนิมิตธรรมารามและเป็นวัดที่สมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2519 พร้อมได้รับ การเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดเทพมงคล มีเนื้อที่ภายในวัด 35 ไร่ 3 งาน 25.5 ตารางวา และมีที่ธรณีสงฆ์เป็นสุสานอีก 7 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา สภาพของชุมชน วัดตั้งอยู่ในชุมชนเมืองล้อม ชาวบ้านภายในชุมชนมีอาชีพค้าขายและรับจ้าง ทั่วไป ประชาชนส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็น ของตนเอง เช่น ประเพณีฮีต 12 เดือน
วัดขนาดเล็กในตัวเมืองอำนาจเจริญ มีหลายวัด ที่พุทธศาสนิกชน เข้าไปทำบุญ ทำทาน เป็นประจำ โดยเฉพาะ วัดแสนสวาสดิ์ทัศนาราม ตั้งอยู่ชุมชนแสนสวาสดิ์ ต.บุ่ง อ.เมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ เป็นวัดสังกัดธรรมยุติ ปัจจุบันพระครูสมุมงคล อาชโล อายุ 56 ปี บวช 36 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสวัดแสนสวาสดิ์ทัศนาราม มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ 7 รูป ไม่มีสามเณรและ แม่ชี มัคนายก 1 คน บนเนื้อที่ 11 ไร่ มีทั้ง ศาลาการเปรียญ อุโบสถ กุฎิ
สมัยโบราณ 150 - 200 ปี ชาวบ้านในหมู่บ้านปลาค้าว จะใช้น้ำดื่ม น้ำใช้จากบ่อน้ำโบราณหลายแห่ง ขณะนี้มีเหลืออยู่ในโรงเรียนปลาค้าวหนองเที่ยงและข้างปู่ตาอังกฮาดราชวงศ์ แต่บ่อน้ำโบราณในวัดฉิมพลี มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นศุนย์รวมชาวบ้าน ืพอถึงหน้าแล้ง น้ำในบ่อจะไหลซึมออกมาไม่ทันกับการใช้สอยของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงได้มารอเข้าเเถวตักน้ำ จากบ่อน้ำทั้งกลางวันและกลางคืน เกิดการเเย่งชิงกันตังน้ำ โต้เถียงกันคนนี้มาก่อนคนนี้มาหลัง ได้เกิดปาฎิหารน้ำในบ่อแห้งขอด ไม่ไหลซึมออกมาอีก ชาวบ้านพากันเดือดร้อน ทั้งพระสงฆ์สามเณรในวัดก็เดือดร้อน จึงช่วยกันหาทางแก้ไขโดยการขุดบ่อขึ้นมาอีกหลายเเห่ง แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงปรึกษาว่าต้องทำพิธีขอน้ำจากกุดปลาขาว แหล่งน้ำใต้หมู่บ้าน หาบแห่ขึ้นมา เทลงในบ่อแต่ผลปรากฏว่าไม่มีเหมือนเดิม ชาวบ้านจึงเสนอให้หมอดูทำนาย จึงรู้สาเหตุที่น้ำไม่มี เพราะเจ้าที่เจ้าของน้ำท่านไม่ให้มี เพราพี่น้องทะเลาะกัน ไมาสามัคคีกัน ชาวบ้านทั้งหลายจึงพากันยินยอมรับปากว่าจะไม่ทะเลาะกันอีกจะไม่เเย่งชิงน้ำกันอีก จะสามัคคีกัน น้ำในบ่อจึงมีตราบเท่าทุกวันนี้ จึงเรียกบ่อน้ำนี้ว่า "บ่อน้ำศักดิ์ศิทธิ์"
แหล่งโบราณสถานเสมาพันปี ตั้งอยู่ที่ ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ นับว่า เป็นสิ่งยืนยันว่า พุทธศาสนา ในอดีตเคยรุ่งเรืองอย่างไรและเป็นสิ่งล้ำค่าที่บรรพบุรุษในอดีตทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ใช้เป็นแนวทางศึกษา ด้วยความภาคภูมิใจ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สีวังแลนด์ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สีวังแลนด์ จัดตั้งโดย นายทรงยศ สีวัง ตั้งอยู่ บ้านเลข...