TKP HEADLINE

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สีวังแลนด์

 


ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สีวังแลนด์

                ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สีวังแลนด์ จัดตั้งโดย นายทรงยศ สีวัง ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 46 หมู่ที่ 13 ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ  มีพื้นที่ทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย ทั้งหมด 4 ไร่

อ่านเพิ่มเติม...

ดอนเจ้าปู่ (ดอนหอ)

 


ดอนเจ้าปู่ (ดอนหอ)

          เมื่อประมาณ 150-200 ปี มาเเล้ว นายพรานเกิ้น นายพรานสีโท ได้ก่อตั้งบ้านปลาค้าวขึ้น ได้กำหนดพื้นที่ให้เป็นสถานที่ตั้งหอเจ้าปู่ อังกฮาดราชวงศ์ สำหรับการบูชาของพี่น้องในชุมชนทุกปี ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะมีการบวงสรวง เช่นไหว้ เลี้ยงสุรา ยาสูบ หัวหมู เป็ด ไก่ พี่น้องในชุมชนพากันไปกราบไหว้ขอพรจากปู่ตา โดยมีความเชื่อว่าในชุมชนนี้จะทำอะไรต้องบอกกล่าวปู่ตาให้ทราบซึ่งมีผู้เเทนสื่อสารกับท่านคือ พ่อใหญ่จ้ำ ผู้ที่ได้รับการสืบทอดเชื้อสายมา รุ่นต่อรุ่นถ้าพ่อใหญ่จ้ำเสียชีวิต ชุมชน จะเลือกพ่อใหญ่จ้ำคนใหญ่จ้ำคนใหม่แทนตามเชื้อสายตามความอาวุโสตามลำดับ

อ่านเพิ่มเติม...

วัดภูจำปา

 


วัดภูจำปา

วัดภูจำปาแห่งนี้ เคยมีพระธุดงค์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เดินทางมาปักกรดพักอาศัย เพื่อปฏิบัติธรรมเป็นการชั่วคราวเพราะเป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ซึ่งในเวลาต่อมามีพระสงฆ์นิยมมาจำพรรษาอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา จึงได้ร่วมใจกันสร้างวัด ก่อสร้างพระพุทธรูปไว้สักการะบูชา และได้สร้างพระไม้พระครั่ง สะสมไว้ในถ้ำเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันว่าได้มีคู่รักหนุ่มสาวมาบนบานอธิษฐานรัก ด้วยการปลูกต้นจำปาหรือต้นลีลาวดีในปัจจุบัน บนลานหิน หากจะได้ครองรักกันก็ขอให้ต้นจำปาเจริญงอกงามออกดอกบานสะพรั่ง ให้ได้ชื่นชม จนเป็นที่มาของภูจำปา

อ่านเพิ่มเติม...

วัดเทพมงคล

 


วัดเทพมงคล

          วัดเทพมงคล ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2500 เนื่องในโอกาสฉลองกึ่งพุทธกาล เดิมชื่อวัดเทพนิมิตธรรมารามและเป็นวัดที่สมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2519 พร้อมได้รับ การเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดเทพมงคล มีเนื้อที่ภายในวัด 35 ไร่ 3 งาน 25.5 ตารางวา และมีที่ธรณีสงฆ์เป็นสุสานอีก 7 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา สภาพของชุมชน วัดตั้งอยู่ในชุมชนเมืองล้อม ชาวบ้านภายในชุมชนมีอาชีพค้าขายและรับจ้าง ทั่วไป ประชาชนส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็น ของตนเอง เช่น ประเพณีฮีต 12 เดือน

อ่านเพิ่มเติม...

วัดแสนสวัสดิ์ทัศนาราม

 


วัดแสนสวัสดิ์ทัศนาราม

          วัดขนาดเล็กในตัวเมืองอำนาจเจริญ มีหลายวัด ที่พุทธศาสนิกชน เข้าไปทำบุญ ทำทาน เป็นประจำ โดยเฉพาะ วัดแสนสวาสดิ์ทัศนาราม ตั้งอยู่ชุมชนแสนสวาสดิ์ ต.บุ่ง อ.เมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ เป็นวัดสังกัดธรรมยุติ ปัจจุบันพระครูสมุมงคล อาชโล อายุ 56 ปี บวช 36 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสวัดแสนสวาสดิ์ทัศนาราม มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ 7 รูป ไม่มีสามเณรและ แม่ชี มัคนายก 1 คน บนเนื้อที่ 11 ไร่ มีทั้ง ศาลาการเปรียญ อุโบสถ กุฎิ

อ่านเพิ่มเติม...

บ่อน้ำโบราณ (บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์)

 


บ่อน้ำโบราณ (บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์)

          สมัยโบราณ 150 - 200 ปี ชาวบ้านในหมู่บ้านปลาค้าว จะใช้น้ำดื่ม น้ำใช้จากบ่อน้ำโบราณหลายแห่ง ขณะนี้มีเหลืออยู่ในโรงเรียนปลาค้าวหนองเที่ยงและข้างปู่ตาอังกฮาดราชวงศ์ แต่บ่อน้ำโบราณในวัดฉิมพลี มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นศุนย์รวมชาวบ้าน ืพอถึงหน้าแล้ง น้ำในบ่อจะไหลซึมออกมาไม่ทันกับการใช้สอยของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงได้มารอเข้าเเถวตักน้ำ จากบ่อน้ำทั้งกลางวันและกลางคืน เกิดการเเย่งชิงกันตังน้ำ โต้เถียงกันคนนี้มาก่อนคนนี้มาหลัง ได้เกิดปาฎิหารน้ำในบ่อแห้งขอด ไม่ไหลซึมออกมาอีก ชาวบ้านพากันเดือดร้อน ทั้งพระสงฆ์สามเณรในวัดก็เดือดร้อน จึงช่วยกันหาทางแก้ไขโดยการขุดบ่อขึ้นมาอีกหลายเเห่ง แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงปรึกษาว่าต้องทำพิธีขอน้ำจากกุดปลาขาว แหล่งน้ำใต้หมู่บ้าน หาบแห่ขึ้นมา เทลงในบ่อแต่ผลปรากฏว่าไม่มีเหมือนเดิม ชาวบ้านจึงเสนอให้หมอดูทำนาย จึงรู้สาเหตุที่น้ำไม่มี เพราะเจ้าที่เจ้าของน้ำท่านไม่ให้มี เพราพี่น้องทะเลาะกัน ไมาสามัคคีกัน ชาวบ้านทั้งหลายจึงพากันยินยอมรับปากว่าจะไม่ทะเลาะกันอีกจะไม่เเย่งชิงน้ำกันอีก จะสามัคคีกัน น้ำในบ่อจึงมีตราบเท่าทุกวันนี้ จึงเรียกบ่อน้ำนี้ว่า "บ่อน้ำศักดิ์ศิทธิ์"

อ่านเพิ่มเติม...

เสมาหินยุคทวารวดีแหล่งโบราณเปือยหัวดง

 


เสมาหินยุคทวารวดีแหล่งโบราณเปือยหัวดง ตำบลเปือย  อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

แหล่งโบราณสถานเสมาพันปี ตั้งอยู่ที่ ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ นับว่า เป็นสิ่งยืนยันว่า พุทธศาสนา ในอดีตเคยรุ่งเรืองอย่างไรและเป็นสิ่งล้ำค่าที่บรรพบุรุษในอดีตทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ใช้เป็นแนวทางศึกษา ด้วยความภาคภูมิใจ

อ่านเพิ่มเติม...

ผลิตภัณฑ์จากเส้นกก

 


ผลิตภัณฑ์จากเส้นกก

เสื่อกกบ้านโคกเจริญ หมู่ที่10 ตำบลอำนาจ  อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

                 ชุมชนบ้านโคกเจริญ   หมู่ที่ 10  ตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ  เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมชอบทำการเกษตร   ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา  มีทุ่งนาล้อมรอบหมู่บ้าน    หน้าฝนเขียวขจีไปด้วยต้นข้าว  หน้าแล้งร้อน  ทุ่งนาว่างเปล่ามีแต่ตอซังข้าว  ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ที่บ้านทำงานหัตถกรรมในครัวเรือน   แม่บ้านบ้านโคกเจริญ หมู่ที่ 10 ตำบลอำนาจ  อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ  ได้รวมกลุ่มกันก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจกรรมในด้านการหารายได้เสริมหลังจากฤดูทำนา และยามว่าง รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมหลากหลายอย่างอาทิ กลุ่มนาแปลงใหญ่  การเย็บผ้า    การสานตะกร้าพลาสติ๊ก และการทอเสือกก

อ่านเพิ่มเติม...

“บุญคูนลาน” สืบสานตามแนวฮีตสิบสองคลองสิบสี่ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

 


“บุญคูนลาน” สืบสานตามแนวฮีตสิบสองคลองสิบสี่ 
อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

       “บุญคูนลาน” เป็นจารีตประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของประชาชนชาวอีสาน โดยปฏิบัติกันมาตามแนวฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นการทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยและเป็นการทำบุญเพื่อความกตัญญูแก่พระแม่โพสพ ที่ได้ประทานความอุดมสมบูรณ์ในการทำนากับชาวนาทั้งปวง

อ่านเพิ่มเติม...

ชุมชนดีวิถีพอเพียงบ้านหนองยาง

 


ชุมชนดีวิถีพอเพียงบ้านหนองยาง

ประวัติความเป็นมาบ้านหนองยาง

          บ้านหนองยางเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของตำบลดงบัง เป็นเขตการปกครองหมู่ที่ 6 มีจำนวนครัวเรือน 100 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 372 คน พื้นที่ทั่วไปประมาณ 1,660 ไร่ การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านมีประวัติความเป็นมาจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา

อ่านเพิ่มเติม...

บ้านพิณงามภูมิปัญญาพื้นบ้านพิณเมืองลือ

 


บ้านพิณงามภูมิปัญญาพื้นบ้านพิณเมืองลือ

นายวาท  ภิญโญ หรือพ่อน้อยพิณงาม

บ้านดอนชี ตำบลดงบัง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

ชื่อ  นายวาท   นามสกุล ภิญโญ  ( พ่อน้อย ) เกิดวันที่   2  เดือนกันยายน   พ.ศ. 2501 ปัจจุบันอายุ  61  ปี 1 เดือน การศึกษา กำลังศึกษาในระดับประถมศึกษา ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลืออำนาจ  จังหวัดอำนาจเจริญ ตำแหน่งปัจจุบัน  ปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปวัฒนธรรมดลตรีพื้นบ้านอีสาน  พิณพื้นบ้าน สถานที่ทำงาน   ศูนย์เรียนรู้พิณ บ้านพิณงาม  

อ่านเพิ่มเติม...

เรือยาวประเพณี กีฬาพื้นบ้าน มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ


 

เรือยาวประเพณี กีฬาพื้นบ้าน มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ

 เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก นั่นหมายถึง ช่วงเวลาแห่งการประกาศศึกจ้าวฝีพายแห่งลุ่มน้ำต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้เริ่มขึ้นแล้ว การแข่งขันเรือยาวประเพณี คือกีฬาพื้นบ้านที่สามารถฝ่ากระแสโลกาภิวัตน์ ยืนหยัดได้อย่างสง่างามมาจนถึงปัจจุบัน สีสันและบรรยากาศของการแข่งขัน เป็นแม่เหล็กชั้นดีที่ดึงดูดช่างภาพและผู้ชมนับร้อยนับพันมาร่วมชมและเชียร์กันอย่างเนืองแน่นทุกเพศ ทุกวัย จนมีคำกล่าวว่าเป็นกีฬาที่ เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี พระเถร เณร ชี ดูแล้วไม่อาบัติ เพราะว่าการแข่งเรือเป็นประเพณีที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา และเรือเป็นสมบัติของวัดและชุมชน

อ่านเพิ่มเติม...

การทำพรมเช็ดเท้า

 


การทำพรมเช็ดเท้า

การส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนบ้านกุดสิ่ม หมู่ที่ 8 ตำบลโคกกลาง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

กศน.ตำบลโคกกลาง ได้ให้การส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าทุกช่องทาง เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ เพจ เป็นต้น เพื่อให้ชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ สามารถนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดอาชีพได้ การทำพรมเช็ดเท้า มีการจัดทำพรมเช็ดเท้ารูปแบบใหม่ ๆ ได้รูปแบบจากชุมชนอื่น ที่ประสบความสำเร็จมาก่อนมาประยุกต์ให้เข้ากับชุมชนตนเอง

อ่านเพิ่มเติม...

ถ้ำสิรินาคา วัดอำนาจ

 


ถ้ำสิรินาคา วัดอำนาจ

           ถ้ำสิรินาคา วัดอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ด้านทิศตะวันตกของวัดอำนาจ ทำเป็นถ้ำ เรียกว่า ถ้ำสิรินาคา จากการนิมิตของเจ้าอาวาสวัดว่า ได้ลงไปเมืองบาดาล และพบกับ ท้าวพุชงนาคา ถึง 2 ครั้ง และท้าวพุชงนาคา ต้องการขึ้นมาบนโลกมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์มีโชคลาภ จึงได้ปั้นเป็นรูปพญานาคภายในถ้ำ ชื่อ พุชงพญานาค และทำเป็นทางเดินรอบถ้ำไปจรดที่บริเวณบนถ้ำ ซึ่งทำเป็นลานกว้าง มองทัศนียภาพโดยรอบวัดได้ อย่างสวยงาม จึงได้ก่อสร้างถ้ำสิรินาคาขึ้น เรียกว่า ถ้ำสิรินาคา

อ่านเพิ่มเติม...

วัดอำนาจ

 


วัดอำนาจ

ประวัติเมืองอำนาจเจริญ และประวัติวัดอำนาจ

     จากการศึกษาดูจากประวัติการตั้งเมืองอำนาจเจริญ เมืองอำนาจเจริญ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2393 ตั้งอยู่ฝั่งลำเซบก อยู่ทางทิศพายัพของเมือง อุบลราชธานี โดยเปลี่ยนจากชื่อเดิม บ้านคอใหญ่คอนชัย(หรือบ้านหมอเพราะเป็นหมู่บ้านที่มีฝีมือในการปั้นหม้อดินโบราณ เพราะดูจากหลักฐานที่ขุดพบหมอและไหจำนวนมากบริเวณใต้ฐานและรอบๆ อุโบสถ) จนมาเป็นเมืองอำนาจเจริญ

อ่านเพิ่มเติม...

พระเจ้าใหญ่ลือชัย วัดอำนาจ

 


พระเจ้าใหญ่ลือชัย วัดอำนาจ

 ประวัติพระเจ้าใหญ่ลือชัย

       พระเจ้าใหญ่ลือชัยไม่ปรากฏชัดเจนว่าใครเป็นเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นสมัยใดแต่มีเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าแก่ของหมู่บ้านได้เล่าให้ฟังว่ามี 3 พี่น้องจากประเทศลาวได้พากันทำการก่อสร้างคนหนึ่งสร้างพระเหล คนหนึ่งสร้างพระลือ คนหนึ่งสร้างพระโรจน์แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน

อ่านเพิ่มเติม...

การประกวดขบวนแห่ยักษ์และธิดายักษ์

 


การประกวดขบวนแห่ยักษ์และธิดายักษ์

          นายทวีป บุตรโพธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า จังหวัดอำนาจเจริญกำหนดจัดงานประเพณีแห่ยักษ์คุอัตลักษณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 1- 3 เมษายน 2565 ที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน (หลังเก่า) อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นงานประเพณีแห่ยักษ์ที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดอำนาจเจริญให้มีความโดดเด่นน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอำนาจเจริญ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม...

เตาประหยัดพลังงาน

 
เตาประหยัดพลังงาน 

          บ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 3  ตำบลโคกกลาง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ การส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนบ้านเหล่ามันแกวหมู่ที่ ๓ตำบลโคกกลาง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

  กศน.ตำบลโคกกลาง ได้ให้การส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าทุกช่องทาง เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ เพจ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม...

งานประเพณีไขประตูเล้า ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน

 


งานประเพณีไขประตูเล้า
ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน

ไขประตูเล้า เว้าภูไท ไปเสอ” นับเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมประเภทการท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่าภูไท ซึ่งจังหวัดอำนาจเจริญมีชนเผ่าภูไท ใน 3 อำเภอ คือ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา และอำเภอเสนางคนิคม จำนวน 32 หมู่บ้าน เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชนเผ่าภูไทให้คงอยู่ตลอดไป พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และให้ประชาชนเกิดความรักความสามัคคี หวงแหนวัฒนธรรมประเพณี

อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จัดทำโดย นายสะอาด วันโท

 


ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จัดทำโดย นายสะอาด  วันโท

ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 14 บ้านโนนสำราญ ตำบลชานุมาน  อำเภอชานุมาน  จังหวัดอำนาจเจริญ 

 โทร 083-3821482

ความเป็นมา

           เดิมทีมีพื้นที่ทั้งหมด 13 ไร่ เป็นที่ 10 ไร่ พื้นที่ว่างเปล่า 3 ไร่ ในการทำนาก็ประสบปัญน้ำท่วมในปีที่ฝนตกซุกและล้างในปีที่ฝนมีน้อย จนกระทั้งปี พ.ศ.2555 ได้มีโครงการอาสาเกษตรหมู่บ้าน นายสะอาดวันโทได้เข้าเข้าร่วมโครงการและเป็นอาสาเกษตรของหมู่บ้าน และได้เริ่มการจัดการน้ำเป็นขั้นแรกในการแก้ปัญหาในพื้นที่ของตน โดยการขุดกักเก็บน้ำ ในระหว่างนั้นก็เข้าร่วมอบรมหาความรู้/เรียนรู้ เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อ่านเพิ่มเติม...

การแข่งขันตกปลานานาชาติประจำปี 2565

 


การแข่งขันตกปลานานาชาติประจำปี 2565

          การแข่งขันตกปลานานาชาติประจำปี 2565 ณ แก่งหินขัน บ้านหินขัน ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีนักตกปลาจากหลายพื้นที่ หลายจังหวัดเข้าร่วมแข่งขันตกปลา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์วิถีชาวบ้านริมน้ำโขง สู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์พร้อมให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสวีถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมวิถีชาวบ้านลุ่มน้ำโขง โดยมีนายอำเภอชานุมาน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนักตกปลาจากหลายพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 

อ่านเพิ่มเติม...

ประเพณีเทศกาลแห่ยักษ์คุ

 


ประเพณีเทศกาลแห่ยักษ์คุ

“เทศกาลแห่ยักษ์คุ” เป็นประเพณีพื้นถิ่นของชาว อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ที่มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาในอดีต ตามความเชื่อบวกนิยายปรัมปราระบุว่า มีพญายักษ์ตนหนึ่งชื่อพญายักษ์ธรรมคุปต์ลงมาปกป้องพุทธศาสนาและพื้นแผ่นดินแห่งนี้ให้อยู่รอดปลอดภัยจากภัยพิบัติต่างๆในครั้งพุทธกาล

อ่านเพิ่มเติม...

ผ้าพื้นเมืองบ้านคำเดือย ต.คำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน

 


ผ้าพื้นเมืองบ้านคำเดือย ต.คำเขื่อนแก้ว  อำเภอชานุมาน

ผ้ามัดหมี่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าและเป็นเอกลักษณ์ของบ้านคำเดือย ซึ่งเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรม

            ภูไท โดยเฉพาะลายผ้าที่มีการถ่ายทอดจากบรรพชน สู่คนรุ่นปัจจุบัน การทอผ้ามัดหมี่กลายเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของบ้านคำเดือย ตำบลคำเขื่อนแก้ว อ.ชานุมาน จ. อำนาจเจริญ การทอผ้ามัดหมี่ในปัจจุบันจะคงเหลือเฉพาะผู้สูงอายุที่ยังทอผ้าอยู่อาจเป็นเพราะค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนไป คนเริ่มเข้ามาใช้ชีวิตและทำงานในเมืองมากขึ้น รวมทั้งค่านิยมการแต่งกายที่เปลี่ยนไป จึงทำให้การทอผ้ามัดหมี่ไม่ได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อยอด

อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฏีใหม่บ้านนาสีดา บ้านสวนลุงจง

 


ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฏีใหม่บ้านนาสีดา บ้านสวนลุงจง

สถานที่ตั้ง บ้านเลขที่ 200 หมู่ที่ 6 บ้านนาสีดาน้อย ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

จัดทำโดยนายจงรักษ์  แสงชาติ เบอร์โทร 093-0809-469

อ่านเพิ่มเติม...

การแปรรูปปลาน้ำโขงบ้านนาสีดา

 


การแปรรูปปลาน้ำโขงบ้านนาสีดา

          บ้านนาสีดา ตำบลชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นพื้นที่ติดแม่น้ำโขงและมีการทำการประมงซึ่งบางฤดูกาลได้ปลาจากแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการนิยมเลี้ยงปลาน้ำจืดเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ชาวบ้านมีการแปรรูปผลผลิตจากปลา ได้หลากหลายรูปแบบ การประยุกต์จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำการแปรรูปเพื่อให้ได้ผลผลิต การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยซึ่งมีการสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงชีวิต สภาพความเป็นอยู่ ชีวิต สังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจึงทาให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังคงอยู่มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันคนในชุมชนสามารถผลิตการแปรรูปปลา เพื่อจำหน่ายในบริเวณพื้นที่ อำเภอชานุมาน

อ่านเพิ่มเติม...

วัดภูหินเหล็กไฟ

 


วัดภูหินเหล็กไฟ

วัดภูหินเหล็กไฟ สำนักสงฆ์ภูหินเหล็กไฟ ตั้งอยู่ที่บ้านหินกอง ต.โคกก่ง อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ รอบบริเวณสำนักสงฆ์ มีทัศนียภาพสวยงาม ลักษณะเป็นหินภูเขาและเงียบสงบ ทำให้มีนักท่องเที่ยว ประชาชนเข้ามากราบนมัสการพระพุทธรูปประจำวัด และทำบุญตักบาตรในวันสำคัญต่างๆ เป็นประจำ รวมทั้งเมื่อมีการทำพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาในสำนักสงฆ์ มักเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

อ่านเพิ่มเติม...

แก่งหินขัน

 

แก่งหินขัน 

แก่งหินขัน บ้านหินขัน ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ลักษณะเป็นแก่งหิน วางตัวขวางลำน้ำโขง -ตัวแก่งจะมีลักษณะคล้ายขันจะโผล่ให้เห็นในช่วงหน้าแล้ง เดือน ก.พ.-ธ.ค.เป็นแก่งหินตั้งอยู่กลางแม่น้ำโขง ติดชายแดนไทย-ลาว ห่างจากตัวอำเภอไปทางใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร ลักษณะเป็นร่องหินเกิดจากการกัดเซาะของกระแสน้ำเป็นเวลาหลายพันปี ซึ่งมีลักษณะเหมือนพานหรือขัน ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมไปชมความสวยงามของแก่งนี้เป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งซื้อขายปลาแม่น้ำโขงซึ่งสร้างรายได้แก่ชาวอำเภอชานุมานเป็นอย่างมาก และยังคงวิถีชีวิตแบบชาวบ้านริมโขงแบบดั้งเดิม

อ่านเพิ่มเติม...

น้ำตกตาดใหญ่

 


น้ำตกตาดใหญ่

น้ำตกตาดใหญ่ ตั้งอยู่ใน ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน เป็นน้ำตกกลางป่าที่สวยงามชื่อดังของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยสายน้ำแห่งนี้เกิดขึ้นมาจากลำห้วยทม ไหลผ่านโขดหินทรายลงสู่แม่น้ำโขง ที่สำคัญยังมีน้ำไหลกันตลอดทั้งปี ซึ่งที่นี่ถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่คงความธรรมชาติดั้งเดิม เหมาะแก่นักท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่เน้นการพักผ่อนและบริเวณสองฝั่งยังคงเป็นป่าไม้ธรรมชาติที่สมบูรณ์ ต้องมาปักหมุดเช็คอินกันแล้ว

อ่านเพิ่มเติม...

แก่งต่างหล่าง

แก่งต่างหล่าง

แก่งต่างหล่าง อยู่บ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลชานุมาน ห่างจากตัวอำเภอชานุมาน 1 กิโลเมตร ลักษณะของแก่งเป็นโขดหินศิลาแลงขรุขระอยู่ริมแม่น้ำโขงคล้ายชามหรืออ่าง ในฤดูฝนน้ำแม่น้ำโขงมีระดับน้ำสูงจึงมองไม่เห็นแก่ง จะสามารถชมแก่งได้ชัดเจนหากในฤดูแล้ง เหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนคำว่า "ต่างหล่าง" เป็นภาษาถิ่น บอกถึงลักษณะของภาชนะที่มีลักษณะกว้างและตื้น บรรยากาศนั่งชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำโขงตอนค่ำๆ และมีสวนสาธารณะเหมาะแก่การออกกำลังกายและนั่งทานอาหารได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม...

แก่งคันสูง

แก่งคันสูง

          แก่งคันสูง ตั้งอยู่บริเวณตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถานที่ท่องเที่ยวริมฝั่งแม่น้ำโขง ด้วยภูมิทัศน์โดยรอบที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ ชมแก่งกลางลำน้ำที่ใสสวยงามในลำน้ำโขง แก่งคันสูงจะเป็นหินกว้างที่กั้นขวางเรียงตัวกันในบริเวณลำน้ำโขง โดยฝั่งตรงข้ามเป็น สปป.ลาว

อ่านเพิ่มเติม...

พระเจ้าใหญ่ไชยฤทธิ์สรรพสิทธิ์ปรารถนาโคตมมหามุนี(หลวงสำเร็จ)

 


พระเจ้าใหญ่ไชยฤทธิ์สรรพสิทธิ์ปรารถนาโคตมมหามุนี(หลวงสำเร็จ)

          พระเจ้าใหญ่ไชยฤทธิ์สรรพสิทธิ์ปรารถนาโคตมมหามุนี(หลวงพ่อสำเร็จ) ประดิษฐานอยู่ในธรรมสถานสวนป่าอนัตตา(ป่าดอนใหญ่) สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2560 ที่ป่าดอนใหญ่ มีการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านเสารีก หมู่ 2,5 บ้านเสารีก ตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ได้มีพิธีเทปูนสร้างพระพุทธรูป พระเจ้าใหญ่ (หลวงพ่อสำเร็จ) หน้าตักกว้าง 9 เมตร สูง 19 เกิดจากพระมหาสำลี กิตฺติปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดปัจฉิมวัน ได้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้เดิมเป็นป่าช้าเก่าและพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ เพื่อเป็นการรักษาป่าไม่ให้เสื่อมโทรมและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่าง ๆ อาทิเช่น นก หนู กระแต กระรอก ฯลฯ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ได้ทำกิจกรรมต่างร่วมกันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม...

วัดปัจฉิมวัน พระชินสีห์คู่บ้านเสารีก

 


วัดปัจฉิมวัน  พระชินสีห์คู่บ้านเสารีก

          วัดปัจฉิมวัน สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่บ้านเสารีก เลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ 37180 นามเจ้าอาวาสพระมหาสาลี กิตฺติปญฺโญ นามเดิม สำลี ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2476 วัดปัจฉิมวัน ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน

อ่านเพิ่มเติม...

แหล่งโบราณสถานบ้านโพนเมือง

 


แหล่งโบราณสถานบ้านโพนเมือง 

          บ้านโพนเมือง ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นชุมชนที่ปรากฏชั้นดินที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 3 ชั้นวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ พบภาชนะดินเผาโครงกระดูก และเนินศาสนสถาน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีการนับถือพุทธศาสนา แหล่งโบราณสถานบ้านโพนเมือง สภาพภูมิศาสตร์มีลักษณะเป็นเนินดินรูปร่างยาวรี มีขนาดประมาณ 300-400 เมตร เนินดินส่วนยอดอยู่สูงจากพื้นที่นาโดยรอบประมาณ 3.50 เมตร โบราณวัตถุที่สำรวจพบ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดหินและแก้ว โบราณวัตถุทำจากทองเหลือง โครงกระดูกมนุษย์และเสมาหินทราย

อ่านเพิ่มเติม...

บ้านหนังสือชุมชนตำบลพนา

 

บ้านหนังสือชุมชนตำบลพนา

          บ้านหนังสือชุมชนตำบลพนา ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 8 บ้านพนา ตำบลพนา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นศูนย์กลางของคนในชุมชน เป็นร้านขายอาหารตามสั่งห่างจากที่ว่าการอำเภอพนาประมาณ 1 กิโลเมตร มีการจัดสถานที่สำหรับอ่านหนังสือ มีโต๊ะ เก้าอี้ และสื่อ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ บรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่าน การเรียนรู้ การประชุม เป็นแหล่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ต่าง ๆ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชนในชุมชน ผู้ดูแลมีจิตบริการ และมีอินเตอร์เน็ตทางร้านอาหารบริการประชาชนที่มาใช้บริการฟรี

อ่านเพิ่มเติม...

กศน.อำเภอพนา กศน.เพื่อประชาชน

 


กศน.อำเภอพนา กศน.เพื่อประชาชน

          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพนา หมู่ที่ 1 ถนนอุปชิต ตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสไปรษณีย์ 37180 โทร. 045 – 4635014 โทรสาร 045 – 463501 e-mail : ksnphana@hotmail.co.th สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอำนาจเจริญ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ

อ่านเพิ่มเติม...

วัดศรีมงคล วัดแห่งวัฒนธรรมศูนย์รวมบุญ

 

วัดศรีมงคล  ตั้งอยู่บ้านนายูง ตำบลไม้กลอน อ.พนา จ.อำนาจเจริญ 

           วัดศรีมงคล เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งมานานหลายสิบปี เป็นวัดที่อยู่ในท้องถิ่นตำบลไม้กลอน วัดเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านนายูง และหมู่บ้านใกล้เคียง มีความสง่างามของสถาปัตยกรรมไทยและมีความเป็นเลิศทางด้านศิลปะไทยและยังเป็นที่เผยแพร่ธรรมะให้แก่คนในชุมชนและร่วมกิจกรรมประเพณีวันสำคัญทางศาสนา

อ่านเพิ่มเติม...

สวนเพลินอุดมทรัพย์ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

 

สวนเพลินอุดมทรัพย์ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

           ตั้งอยู่ที่ ม 1 บ้านไม้กลอน ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่นา ทังหมด 25 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่การทำนา ของนายกอง แก้วกล้า เดิมก่อนนั้นการทำนาอย่างเดียวทำให้ได้ผลไม่ได้เต็มที่ ลงทุนมาก ได้กำไรน้อย เมื่อลูกชาย คือนายนราธิป แก้วกล้า ซึ่งแต่ก่อนนั้นเคยทำงานทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านอาหาร ที่กรุงเทพ ฯ เมื่อปี 2560 โดนพิษภาวะเศรษฐกิจทำธุรกิจที่เคยทำต้องหยุดลง จึงได้กลับมาบ้านเพื่อพักผ่อน และคิดหาประกอบอาชีพในท้องถิ่นของตนเอง มองเห็นที่นาของพ่อหลังจากว่างการทำนา และมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้กับคลองชลประทานหมู่บ้าน แล้วจึงคิดที่จะปลูกพืชผักไว้ เช่นกล้วย มะละกอ ผักบุ้ง ผักกะแยง ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม...

การทอเสื่อกกลายขิด

 

การทอเสื่อกกลายขิด

          กลุ่มทอเสื่อกก บ้านจิก ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ การทอเสื่อ เป็นการเรียนรู้การทอ เสื่อมาจาก บรรพบุรุษสืบต่อกันมา เดิมเป็นการทอเพื่อใช้ในครัวเรือน และต่อมาหลายปี จนถึงปัจจุบัน ได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติมในการเรียนฝึกอาชีพการทอเสือกกจาก กศน. หรือการอบรมจากพัฒนาชุมชน โดย นางสุเบ็ญจ์ สมคเณย์ ได้ชวนเพื่อนบ้านมารวมกลุ่ม กันทอเสื่อกก ได้มีการแปรรูปเสื่อ เป็นแบบสามพับเพื่อความต้องการของผู้ใช้และสดวกในการใช้ /เก็รักษา และพกพาง่าย มีจำหน่ายในชุมชน/ท้องถิ่น และออกร้านนิทรรศการ ร่วมกับหน่วยงาน พช. กศน. อบต. ฯ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพเพิ่มรายได้แก่ครอบรัวชุมชน

อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์เรียนรู้ภูภัทร เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอพนา

 

ศูนย์เรียนรู้ภูภัทร เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอพนา

ศูนย์เรียนรู้ภูภัทร เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านจิก อำเภอพนา เริ่มก่อตั้ง เมื่อ ปี 2551 ตั้งอยู่ที่ ม 9 บ้านจิก ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่นา ทังหมด 25 ไร่ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยนายสังคม มูลชาติ เป็นประธาน เดิมก่อนนั้นการทำนาอย่างเดียวทำให้ได้ผลไม่ได้เต็มที่ ลงทุนมาก ได้กำไรน้อย เมื่อได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมในเรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องการทำการเกษตรผสมผสาน การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จากหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตร จังหวัดอำนาจเจริญ พัฒนาชุมชนอำเภอพนา กศน.อำเภอพนา ฯลฯ จึงมีแนวความคิดแบ่งพื้นที่ ทำการเกษตร ประมาณ 5 ไร่ ทำการเกษตร ผสมผสาน โดยมีแนวคิดเพื่อปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกจากการทำนา มาเพิ่มมูลค่าโดยมีการ ทำนาเกษตรอินทรีย์ /การปลูกพืช /ผักปลอดสารพิษ โดยยึดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อ่านเพิ่มเติม...

ผ้าทอ มัดย้อมสีธรรมชาติ

ผ้าทอ มัดย้อมสีธรรมชาติ

          กลุ่มทอผ้าบ้านโนนทุ่ง หมู่๗ ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มทอผ้าบ้านโนนทุ่งมีการทอผ้ามาแต่อดีต หลายปีมีภูมิปัญญาท้องถิ่น นำโดย นางสลิด คำภา และสมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมการทอผ้าพื้นเมือง ผ้าทอย้อมสี ฝ้าย /ด้าย ด้วยพืชพันธ์จากธรรมชาติ โดยทางกลุ่มจะมีการเลี้ยงครั่งไว้ แล้ว นำมาต้มมัดย้อมฝ้าย ให้ออกสีแดง ชมพู ฝีมือการทอ สวยงาม ได้รับความชื่นชมไว้วางใจ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ ประจำตำบลโดยได้รับการสนับสนุน หน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น พัฒนาชุมชน กศน.อำเภอพนา อบต.ไม้กลอน โดย ทางกลุ่ม ได้ทอผ้า ไว้เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้แก่ ครอบครัวชุมชน และได้นำผลิตภัณฑ์ ไปแสดงสินค้า เวลามีงานของ ตำบลไม้กลอน เป็นตัวแทนของอำเภอพนาตลอดจนตัวแทนระดับจังหวัด ได้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ประจำตำบลไม้กลอน

อ่านเพิ่มเติม...

วัดพระเหลาเทพนิมิต

 

วัดพระเหลาเทพนิมิต 

          เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม "พระเหลาเทพนิมิต” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ มีขนาดหน้าตักกว้าง 2.85 เมตร สูง 2.70 เมตร ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอำนาจเจริญ ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดพระเหลาเทพนิมิต ต.พนา อ.พนา จ.อำนาจเจริญ ตามประวัติ บรรพบุรุษผู้สร้างบ้านแปลงเมืองบ้านพนา ได้พากันอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณดงสูง ริมกุดบึงใหญ่ หรือกุดพระเหลาในปัจจุบัน "พระครูธิ” พระที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือ ได้ชักชวนให้ร่วมกันสร้างวัดบริเวณริมกุดบึงใหญ่ และให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดศรีโพธิชยารามคามวดี” โดยมีพระครูธิ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

อ่านเพิ่มเติม...

วัดดอนขวัญ

 

วัดดอนขวัญ 

          เป็นแหล่งท่องเที่ยว (ชุมชน) ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตั้งอยู่บ้านดอนขวัญ หมู่ที่ 2 ตำบลพนา  อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ  มีเนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน โดยการบริจาคของคุณแม่วณีย์ รูปแก้ว พ.ศ. 2505

          หลวงปู่พระครูถาวรวนคุณ พาญาติโยมมาตั้งเป็นที่พักสงฆ์ขึ้นให้ชื่อว่าวัดถาวรวนาราม พศ.2531 ได้เป็นวัดถูกต้องตามกฎหมายให้ชื่อว่า วัดดอนขวัญ พ.ศ.2537 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาพระประทานในอุโบสถและลานธรรม สมเด็จพระสังฆราชทรงพระราชทานนามให้ 

อ่านเพิ่มเติม...

ศาลหลักเมืองอำเภอพนา ถนนสายวัฒนธรรมชาวอำเภอพนา

 

ศาลหลักเมืองอำเภอพนา  ถนนสายวัฒนธรรมชาวอำเภอพนา

          ตั้งอยู่ที่ชุมชนตลาดสด หมู่ 7 ตำบลพนา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ประวัติการก่อสร้างมาตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2554 มาจนถึงปี พ.ศ. 2562 ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของ พี่น้องชาวอำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เลย โดยประวัติของอำเภอ นี้เริ่มมาตั้งแต่มีการก่อสร้างบ้านแปงเมือง ก่อนปี พ.ศ.2231 และก็มีได้รับพระมหากรุณาธิคุณในพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานนามชื่อเมือง พนานิคม จนกลายมาเป็นอำเภอพนา ของจังหวัดอุบลราชธานี และในปีพ.ศ.2536 อำเภอพนา ก็ขึ้นตรงต่อจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งแยกตัวมาจากจังหวัดอุบลราชธานี และชาวอำเภอพนา จะมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี แบบใช้ชีวิตแบบสมัยเก่า อำเภอพนา เป็น อำเภอเล็กๆ ประกอบ ไปด้วย 3 ตำบล 2 เทศบาล

อ่านเพิ่มเติม...

วนอุทยานดอนเจ้าปู่

 

วนอุทยานดอนเจ้าปู่

คำขวัญ อำเภอพนา

พนาเมืองเก่า พระเหลาเทพนิมิต ผ้าขิดสวยดี มัดหมี่จานลาน วนอุทยานดอนเจ้าปู่ เมืองครูนักปราชญ์ 

          เดิมเป็นป่าดงดิบประกอบด้วยป่าไม้เบญจพันธุ์นานาชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์ ต่อมาราวปี พ.ศ.2213 พรานที พรานทอง สองพี่น้องพร้อมด้วยสมัครพรรคพวกได้อพยพติดตามท่านพระครูโพนสะเม็กพระครูขี้หอมหนีภัยการเมืองจากนครเวียงจันทน์ลงมาตามแม่น้ำโขง มาขอพึ่งเจ้านครจำปาศักดิ์ และเจ้านครจำปาศักดิ์ให้ตั้งถิ่นฐานที่ภูมะโรง แขวงจำปาศักดิ์ เรียกว่า บ้านมะขามเนิ่ง ซึ่งด้านทิศตะวันตกของดงใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำมาหากิน จึงพาสมัครพรรคพวกตั้งบ้านขึ้นเรียกว่า "บ้านทรายมูล" ซึ่งในปัจจุบันก็คือ "ดอนเจ้าปู่" นั่นเอง ตั้งอยู่ได้ประมาณ 15 ปี ได้เกิดโรคระบาดผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากชาวบ้านหมดปัญญาที่จะรักษาโรคร้ายให้หายไปจากหมู่บ้านได้ ต่อมาทราบข่าวว่าท่านพระครูธิ บ้านปอพรานขัน เป็นผู้มีเวทย์มนต์คาถาอาคมขลัง สามารถรักษาโรคภัยต่างๆได้ จึงพากันไปอาราธนานิมนต์ท่านมาและท่านพระครูธิพร้อมด้วยสานุศิษย์ได้เดินทางมาถึงจึงได้พิจารณาดูภูมิประเทศโดยรอบของหมู่บ้านทรายมูลแล้วบอกว่าไม่เหมาะถ้าไม่ย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นโรคร้ายจะไม่หาย ท่านพระครูธิจึงได้มาพิจารณาภูมิประเทศทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งใกล้กับบึงใหญ่ (กุดพระเหลา)

อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา กศน.อำเภอพนา

 

ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา กศน.อำเภอพนา 

          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพนา ตั้งอยู่ที่ ถนนอุปชิต ตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอำนาจเจริญ จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นประถมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย /การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาต่อเนื่อง

อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์แพทย์แผนไทยพนา โรงพยาบาลพนา

 

ศูนย์แพทย์แผนไทยพนา โรงพยาบาลพนา

          ตั้งอยู่ที่ 225 หมู่ 10 ตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นศูนย์แพทย์พื้นบ้านของอำเภอพนา ให้บริการตรวจ วินิจฉัย ตรวจธาตเจ้าเรือน เพื่อปรับสมดุลธาตุ บริการหัตถบำบัด ยาสมุนไพร ยาต้ม บริบาลหลังคลอด และสปาเพื่อสุขภาพ อบสมุนไพรนวดแผนไทยต่าง เช่นนวดเท้า นวดตัว จำหน่ายยาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านต่างๆ เป็นแหล่งวิเคราะห์ ทดลอง ค้นคว้าเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ตลอดทั้งส่งเสริมการปลูกสมุนไพรต่างๆในชุมชน

อ่านเพิ่มเติม...

วัดป่าฤกษ์อุดม

 

วัดป่าฤกษ์อุดม

          วัดป่าฤกษ์อุดม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2531 มีเนื้อที่ 41 ไร่ 42 ตารางวา โดยชาวบ้านฤกษ์อุดมนำโดย นายอุรา คำลี กำนันตำบลลือ เป็นผู้นำในการสร้าง และนายศูนย์ อินลี เป็นผู้ยกที่ดินให้เป็นสถานที่ตั้งวัด มีพระแสง ปริปุณโณ (พระครูอุดมวิริยะกิจ) เป็นผู้นำฝ่ายสงฆ์ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร การบริการและการปกครอง มีเจ้าอาวาสที่ทราบนามคือ รูปที่ 1 พระครูอุดม วิริยะกิจ (หลวงพ่อแสง ปริปุณโณ) พ.ศ. 2531 - 2543 ซึ่งหลวงพ่อแสงท่านมีภารกิจสงฆ์มากไม่มีเวลาปกครองจึงแต่งตั้งพระมหาหวัน เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2

          วัดป่าฤกษ์อุดมเป็นวัดที่รู้จักเคารพศรัทธาของคนทั่วไปในเขตใกล้เคียงและต่างจังหวัด ซึ่งทุกวัน จะมีญาติโยมเดินทางมาทำบุญมิได้ขาด และจะมีการเข้าปริวาสกรรมระหว่างวันที่ 4 - 14 มกราคม ของทุกปี และนอกจากนี้ในวัดยังถือเขตอภัยทาน มีสัตว์อาศัยอยู่มากมาย เช่น ไก่ป่า นก มีบ่อปลาขนาดใหญ่ มีปลาจำนวนมาก และนอกจากนั้นยังมีอุโบสถที่งดงาม มีภาพฝาผนังอันวิจิตรงดงามทั้งชั้นบนและชั้นล่าง

อ่านเพิ่มเติม...

วัดบ้านนาคำ

 

วัดบ้านนาคำ

วัดบ้านนาคำ หมู่ที่ 4 ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ประวัติวัดบ้านนาคำ

                สมัยก่อนนั้นนั้นบ้านนาคำ เป็นหมู่บ้านที่ไม่มีวัดการทำบุญในเทศกาลต่างๆ ต้องเดินทางไปที่วัดโฆสิตาราม บ้านนลือ หมู่ที่  8  ซึ่งเป็นบ้านใกล้กันระยะทางประมาณ 800  เมตร  เนื่องจากการสัญจรต้องใช้สะพานข้ามลำห้วยประกอบกับปีนั้นในช่วงฤดูฝน  มีฝนตกหนักทำให้มีน้ำท่วมชาวบ้านจึงไม่สามารถเดินทางไปทำบุญที่ได้ เช่น เทศกาลเข้าพรรษา วันวิสาฆบูชา รวมถึงการทำบุญตักบาตรในวันพระและวันปกติในช่วงฤดูฝน ชาวบ้านเดินทางลำบาก ปีต่อมาชาวบ้านจึงได้รวมรวบสมทบทุนกันภายในหมู่บ้านหาปัจจัยในการสร้างวัดในหมู่บ้าน โดยการนำของนายสี  โกสัตถา  กำนันตำบลลือ 

อ่านเพิ่มเติม...

การย้อมผ้าสีธรรมชาติ

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น การย้อมผ้าสีธรรมชาติ

บ้านหนองลุมพุก หมู่ที่ 1 ตำบลลือ  อำเภอปทุมราชวงศา  จังหวัดอำนาจเจริญ

วิทยากรกลุ่ม นางปั่ง  โล่ห์คำ

คำขวัญตำบลลือ

ตำบลน่าอยู่  ราษฎร์เชิดชูศาสนา ภูมิปัญญามากมี ของดีข้าวหอมมะลิ เกจิพระอาจารย์ ใบลานตำนานศิลป์  ท้องถิ่นพอเพียง  ลือเลื่องตำบลลือ

          การย้อมสีธรรมชาติ คือ การนำเอาวัตถุดิบในธรรมชาติที่ได้จากพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และแร่ธาตุต่างๆ มาทำการย้อมกับเส้นด้าย เพื่อนำมาใช้ในการทอผ้า เพิ่มสีสันให้กับเส้นด้ายให้มีความสวยงาม ซึ่งมีการสืบทอดเทคนิควิธีการย้อมมายังคนรุ่นหลัง เป็นวิธีการที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน ด้วยภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนได้นำเอาองค์ความรู้ในการย้อมสีผ้าด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษต่อผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาสู่ลูกหลาน และเป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพของชาวชนบท

อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา (ไฮ นา ฮิม ทาง)

 

ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา 
(ไฮ นา ฮิม ทาง)

แหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา (ไฮ นา ฮิม ทาง) เจ้าของพื้นที่ นายไสว นิมมา กำนันตำบลลือ ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 75 บ้านฤกษ์อุดม หมู่ที่ 7 ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ที่จัดทำตามโครงการ โคก หนอง นา โมเดล โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี และได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตลอดจน ใช้ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การป้องกันให้รอดพ้นจากวิกฤต และให้สามารถ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม...

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดอำนาจเจริญ. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand